ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นิทาน เต่ากับแมว @supinya

ก่อนอื่นจะพูดถึงตัวละครในนี้ก่อนนะครับ แล้วเอาไปเปรียบเทียบเอาเอง นำข้อมูลมาจาก @ipattt 

3G ตอนที่ 2 ตัวละครหลัก และรัฐบาลที่เข้ามาในฉากสุดท้าย

กทช

ดังที่ได้รู้จักเรื่องราวการก่อตั้งและปัญหาของกทช. มาแล้วจากตอนเก่าๆ นะครับ กทช. ก่อตั้งขึ้นมาด้วยความหวังในพลังการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ แต่กทช. ยังเป็นองค์กรอิสระองค์กรเดียวที่มีอำนาจในการบริหารและเสนอญัตติทาง นิติบัญญัติด้วย ทำให้สามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ของตนเองได้

True

True เป็นผู้ประกอบการณ์รายเล็กสุด ที่ได้รับสัมปทานจาก CAT (เนื่องจากมีคลื่นความถี่เหลือ จาก DTAC) ในขณะนี้เหลือสัญญา 2G อีกเพียง 3 ปี (น้อยที่สุดในเอกชนสามเจ้า สาเหตุที่ True เหลือเวลาสัมปทาน 2G น้อยที่สุด ทั้งที่เป็นผู้เล่นรายใหม่ ก็เพราะว่าต่อสัญญาไม่ทัน) ดังนั้นจึงเป็นผู้เล่นรายที่กระตือรือร้นที่สุดที่อยากมาสู่ 3G เพราะจะหมดสัญญา
นอกจากนี้ True ยังเป็นแนวธุรกิจแบบ Convergence มีทั้ง Content และ Data ที่ 3G จะรองรับธุรกิจได้อย่างเหมาะสมที่สุด แต่ในแง่การประมูล บริษัทที่เป็นรายเล็กสุด ก็ดูเหมือนจะ”เหนื่อย” กว่าเจ้าอื่น
True ต่างจากผู้เล่นรายอื่นที่เปอร์เซ็นต์การถือหุ้นเป็นทุนส่วนใหญ่ ของคนไทย ดังนั้น True จึงเน้นการสื่อสารกับสาธารณะว่าการเงื่อนไขที่ปิดเสรี อาจมีผลให้ทุนต่างชาติเข้า มาในกิจการโทรคมนาคมไทย ( ซึ่งตอนนี้มีแนวโน้ม ญี่ปุ่น มาแรงมาก ) จึงให้เหตุผลเชิงชาตินิยม (ว่าตนเองเป็นทุนไทย) มากกว่าเจ้าอื่นอย่าง DTAC และ AIS ที่ขณะนี้มีต่างชาติถือหุ้น 49%

AIS

AIS ได้ฐานความพร้อมด้านคุณภาพสัญญาณจากโครงข่าย TOT และมีเวลาเหลือตามสัญญา 5 ปี นอกจากนั้นยังมีพื้นฐานทางธุรกิจที่ดี ขยายได้ง่าย มีเครือข่ายบริษัทที่สนับสนุนที่ดี และมีช่วงเวลาที่มีความได้เปรียบทางการเมืองมาพอสมควร
ความได้เปรียบทางการเมืองนี้ มากหรือน้อยเพียงใดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เช่นประเด็นคุณทักษิณได้แปรสัญญาภาษีสรรพสามิต ที่คุณสุภิญญาเห็นว่าเอื้อเอกชน และคุณสุภิญญาเคยถูกฟ้องเรื่องนี้จากชินคอร์ปเป็นมูลค่า 400 ล้านบาท จนเร็วๆ นี้ก็มีการถกเถียงกันในประเด็นการพิจารณายึดทรัพย์คุณทักษิณ ระหว่าง ดร. วรเจตน์ กับ ดร. สมเกียรติ ( อย่างไรก็ตามถ้าจัดว่า AIS ได้เปรียบ ในช่วงเวลาดังกล่าว DTAC ก็ได้รับข้อได้เปรียบตามไปด้วยเช่นกัน )

DTAC

Dtac เป็นผู้ประกอบการที่เหลือเวลาตามสัญญา 2G มากที่สุดคือ 8 ปี ดูเหมือนเป็นผู้เล่นที่มีความเสี่ยงต่ำสุดในหลายด้าน และมีความพร้อมทางด้านโครงข่ายสูงมาก นอกจากนีี้ยังมีศักยภาพในการทำเทคโนโลยีใหม่ถึง 4G ได้เลย และมีความแตกต่างจาก True และ AIS ตรงที่ลักษณะธุรกิจเน้นเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยตรง
อย่างไรก็ดี DTAC ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะปูพื้นฐานสู่ 3G มาตลอด มีการตั้งทีมงาน ” Next DTAC ” ด้วยความมั่นใจว่าตนเองจะพลิกจากเบอร์ 2 ขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ได้ถ้ามี 3G ลองอ่านสิ่งที่ DTAC ได้ปูพื้นตนเองมา

TOT

TOT เป็นผู้ให้บริการเดียวที่สามารถให้บริการ 3G ได้แล้ว เพราะเป็นเจ้าของคลื่นที่สามารถให้บริการ 3G มาได้แต่ดั้งเดิม (1900 MHz) ซึ่งได้รับสิทธิ์นี้มาตั้งแต่สมัยกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่ผลดำเนินการยังไม่ค่อยชัดเจน ความพยายามขยายขอบเขตพื้นที่บริการก็น้อย ทำให้คนส่วนใหญ่เองก็ยังไม่ค่อยได้ใช้ 3G ของ TOT ซึ่งผู้ให้บริการทุกคน (MVNO) บอกว่าเป็นช่วงทดลองกันหมด
จะว่าไปแล้ว TOT มีเงื่อนไขที่ได้เปรียบค่อนข้างมาก เช่นเงื่อนไขปรกติที่ผ่านไป 15 ปีต้อง refarming คลื่นคืนมาใหม่ พรบ.กิจการโทรคมนาคมกลับยกเว้นให้ TOT ไม่ต้องคืนคลื่น เพราะยังไม่มีหน่วยงานอย่างกสทช.มาทำเรื่องคลื่นแบ่งประเภทระหว่าง Broadcast กับ โทรคมนาคมให้ชัดเจน
TOT ควบคุมสัมปทาน 2G และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมอยู่อย่างมาก ดังนั้นการเปลี่ยนระบบสู่ 3G ด้วยวิธีใช้ระบบใบอนุญาตและรัฐมีแนวโน้มที่จะดึงเงินเข้าคลังโดยตรงจึงเป็น สิ่งที่ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงมาก

CAT

CAT กลับขอสละสิทธในการประมูล 3G เพราะไม่แน่ใจถึงแหล่งเงินที่จะนำมาประมูล และความไม่ชัดเจนขององค์กรเอง อย่างไรก็ตาม CAT ได้เดินหน้าเปิดให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์ความเร็วสูง 3G ต่อเนื่องเอง CAT ยังเตรียมควบรวม 2 โครงข่าย ระบบ CDMA และระบบ Hucth เข้าด้วยกันเป็นโครงข่ายเดียวในชื่อโครงข่าย CDAM พร้อมอัพเกรดหรือเพิ่มระดับของเครือข่ายทั้งสองระบบให้เป็นโครงข่ายโทรศัพท์ ความเร็วสูง หรือ ระบบ 3G ในอีก 25 จังหวัด
CAT นั้นมีปัญหาทางความสัมพันธ์กับ TRUE อยู่ตามข่าวในช่วงต้นปี ส่วนจุดแข็งของ CAT ก็คือช่องทางการสื่อสารระหว่างประเทศ
CAT ก็เช่นเดียวกับ TOT ควบคุมสัมปทาน 2G และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมอยู่อย่างมาก ดังนั้นการเปลี่ยนระบบสู่ 3G ด้วยวิธีใช้ระบบใบอนุญาตและรัฐมีแนวโน้มที่จะดึงเงินเข้าคลังโดยตรงจึงเป็น สิ่งที่ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงมาก

รัฐบาล

หลังจากที่รัฐบาลได้นิ่่งเฉย ไม่ได้แสดงท่าทีต่อวาระทางด้านโทรคมนาคม องค์กรอิสระอย่างกทช. ก็ได้ทำหน้าที่และผลักดันด้านแผนการ 3G มาจนใกล้ถึงบทสรุปตามความคาดหวัง ที่ว่าจะมีการประมูลคลื่นความถี่ 3G ในเดือนกันยายนนี้ จู่ๆ ก็มีการจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับใหม่โดยคุณ กรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ คุณจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ว่า รัฐบาลจะยกเลิกสัมปทาน 2G และเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตทั้งหมด ทั้งที่รัฐบาลไม่เคยศึกษาหรือทำ road show มาก่อนหน้านี้เลย
ดูเผินๆ แล้ว เหมือนว่าข้อเสนอของรัฐบาลจะดีต่อ กทช. เพราะจะได้แก้ไขปัญหายุ่งเหยิงที่ผ่านมา รวมทั้งอำนาจในการบริหารของกทช. แต่คุณกรณ์กลับแนะนำว่าใบอนุญาตที่จะออกใหม่นั้น น่าจะมีอายุ 15 ปี ถือเป็นนัยบอกความต้องการอุ้มเอกชนก็เป็นได้ และความจริงแล้ว ไม่ใช่สิทธิของรัฐบาล ที่จะสามารถกำหนดกฏเกณฑ์ตรงนั้นได้

นิทานเต่ากับแมว @supinya ทวิส วันที่ 15 กันยายน 53

เรื่องของเรื่องคือ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วตอนยังไม่มี กทช. แมวกับเต่า ก็ได้เอกสิทธิ์เป็นขาใหญ่ครองคลื่นความถี่โทรคมนาคมมานาน

ปล.เรียกเต่าตาม speed ของเน็ตที่เต่าให้บริการ และออกเสียงคล้าย

คือ แมวกับเต่าได้สิทธิ์ครอบครองคลื่นความถี่และมีพันธกิจต้องส่งเสริมการสื่อ สารของประเทศไทยให้ประชาชนเข้าถึงตั้งแต่ปีมะโว้ ในนามรัฐวิสาหกิจ

แต่เต่าก็ไม่ขยัน คนไทยเลยไม่มีโทรศัพท์บ้านใช้ หันไปใช้มือถือกันแทนหลังจากรัฐบาลผ่านนักการเมืองให้สัมปทานเอกชนทำมือถือผ่านเต่า

ตอนหลังแมวก็ทำตามให้สัมปทานเอกชนเข้ามาทำมือถือบ้าง โดยเงื่อนไขอะไรตอนนั้นชาวบ้านยังไม่ตื่นตัวเลยไม่รู้อะไรมาก

รู้ แต่ว่า เต่ากับแมว ในฐานะรัฐวิสาหกิจก็ทำหน้าที่รับค่าต๋งหรือสัมปทานเข้ากระเป๋าแทนรัฐและคน ไทย สหภาพฯก็บริหารโบนัสกันไป นานเป็นสิบปี

ใน อดีตแทนที่เต่ากับแมวในฐานะคู่สัมปทานจะทำหน้าที่กำกับเอกชนเพื่อผู้บริโภค ก็ไม่ค่อยทำ เพราะเต่ากับแมวอู้ฟู่จากค่าสัมปทาน สบายใจแล้ว

ใน ที่สุดสังคมไทยก็ทนไม่ไหวมั้ง รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2540 จึงบอกว่าให้มีองค์กรอิสระมาทำหน้าจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งหลายแทนเต่ากับแมว เสียที

เมื่อปี 2543 จึงเกิด พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯขึ้น เพื่อก่อตั้ง กทช.(ดูแลด้านโทรคม) และ กสช.(ดูแลด้านวิทยุโทรทัศน์)

แต่ ปัญหาคือ กทช.เกิดมาทำงานแล้ว แต่ กสช.ยังไม่เกิดสักทีเพราะมีปัญหามากมาย พอเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองเมื่อ 19 กันยา 49 รัฐธรรมนูญก็ถูกฉีก

รัฐ ธรรมนูญใหม่ก็เขียนว่าให้มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียว จึงต้องยุบรวม กทช.กับ กสช. เป็น กสทช. จากนั้นก็แก้กม.กันเรื่อยมาจนปัจจุบัน

เนื่องจาก 3G เป็นกิจการที่หลอมรวมระหว่างโทรคมกับวิทยุโทรทัศน์ เลยมีคนบอกว่าต้องรอให้ กสทช.ทำนะ แต่ปัญหาคือ กสทช. ยังไม่เกิดสักที

กทช.ชุดก่อนหน้าเคยคิดจะประมูล3G มาแล้วเหมือนกัน แต่พอโดนขู่ว่าจะโดนฟ้องก็เลยถอย จนมาถึง กทช.ชุดนี้ที่ตัดสินใจเดินหน้า

เหตุผล หนึ่งที่ กทช.ชุดที่แล้วไม่กล้าเดินหน้าเพราะไม่มีต้นทุนทางสังคมมาก เนื่องเพราะกติกาที่จะออกไม่รัดกุมพอจะสร้างการแข่งขัน เลยโดนรุมมาก

แต่ กทช.ชุดใหม่ขยัน กล้าและฟังความเห็นของนักวิชาการ/ngo มากกว่าภาคธุรกิจ เลยทำให้เสียงค้านหายไปมากเพราะสังคมรับได้กับกติกาที่ดีกว่าเดิม

จะ เหลือก็แต่พี่เต่ากับพี่แมว ที่คราวนี้ไม่มีใครให้โหนกระแสช่วยค้านให้แล้ว เลยต้องออกโรงเอง ถามว่าแล้วทำไมเต่ากับแมวถึงเดือนร้อนนักล่ะ

ปล.มาถึงตอนนี้จะอธิบายยากหน่อยเพราะต้องพาดพิ่งบริษัทที่เข้าประมูลสามจีด้วย (กลัวผิดกฏ) เอ จะอธิบายยังไงดีนะ

คือ งี้ พี่เต่าให้สิทธิพี่อ้อยใช้ที่ทำนาอยู่ พี่แมวก็ให้สิิทธิ์พี่ติ่มกับพี่ดวงใช้ที่นาเหมือนกัน แต่พี่อ้อย ติ๋ม ดวง ก็ต้องจ่ายตังค์แพง

จริงๆตังค์ที่พี่อ้อย ติ๋ม ดวง จ่ายให้พี่เต่าพี่แมว นั้นควรเป็นภาษีของประชาชน แต่พี่เต่าแมวก็ใช้แทนซะเพลินเลย ก็ํเลยหวงไง

พอมีลุง กทช.มาทำงานและมีที่นาผืนใหม่ สวยสด ดินดีกว่า กำลังจะเปิดให้ใครต่อใครมาประมูลเพื่อใช้ทำนาให้ประเทศรุ่งเรื่อง พี่เต่ากับแมวก็โกรธ

เผอิญจังหวะไม่ดีประเทศสยามกำลังตกต่ำ แม้ กทช.จะเปิดให้ประมูลที่นาใหม่ ก็ดันไม่มีใครมานอกจากญาติของพี่อ้อย พี่ติ๋ม พี่ดวง

ถ้า ญาติพี่น้องของพี่อ้อย พี่ิติ๋ม พี่ดวง เกิดประมูลที่นาใหม่ได้ แล้วจ่ายค่าเช่าถูกกว่าที่เคยจ่ายให้กับพี่เต่าพี่แมว เค้าก็ทิ้งสัญญาเดิมไง

งาน ก็เลยเข้าพี่เต่าพี่แมว เพราะถ้าพี่อ้อย ติ๋ม ดวง ทิ้งสัญญาเช่านาเดิมปีละ 2-3 หมื่นล้าน แล้วพี่เต่ากับพี่แมวจะมีโบนัสที่ไหนไปเที่ยวกัน

สำคัญกว่านั้นคือค่าเช่าที่นาใหม่ ลุง กทช. ไม่มีสิทธิเก็บไว้ใช้เองเหมือนพี่เต่ากับพี่แมว แต่ต้องส่งเข้าคลังหลวงไง ดีกว่าเห็นๆ

ฟัง ดูก็ดีกับประเทศชาติ แต่ไม่ดีกับกระเป๋าของพี่เต่ากับพี่แมว เพราะถ้าไม่ได้ตังค์จากพี่้อ้อย พี่ติ๋ม พี่ดวง แล้วพี่เต่าพี่แมวจะหาเงินยังไง

ยังไม่จบนะ ที่ฮากว่านั้นคือ นอกจากเต่าแมวให้3สามเช่าที่นาแล้ว ตัวเองก็ไปจดทะเบียนในตลาดหวังจะทำนาแข่งกับ3สาวด้วย แต่ก็แข่งไม่ได้

คือ เต่ากับแมวอยากเป็น2อย่าง เป็นเจ้าของที่ดินให้เช่านาเก็บค่าต๋ง แต่ก็อยากดูดีเป็นชาวนาปลูกข้าวแข่งด้วย แต่ข้าวคุณภาพก็สุดทน คนจำใจซื้อ

จริงๆ วิบากกรรมของเต่าแมวยังไม่จบ ระหว่างที่ค้าน กทช.ก็ค้าน ร่าง พรบ.กสทช.ด้วย เพราะมีมาตราหนึ่งบอกว่าให้เต่ากับแมวต้องคืนรายได้เข้าคลัง

แต่เต่าแมวก็ไม่อยากคืน อ้างว่าเต่าแมวเป็นมรดกของชาติสยามมาก่อนเก่า ถ้าต้องคืนค่าสัมปทานที่นาเข้าคลัง ชีวิตเต่าแมวคงแหลกสลายไป


ถ้าใครเคยได้ฟังเต่าแมวอ้างว่า ทำไมต้องรักษาทรัพย์สินของเต่าแมว ท่านอาจน้ำตาไหลได้ เพราะจะซาบซึงถึงบุญคุญที่เต่าแมวทำให้คนไทยมาตลอด –"

และ ถ้าท่านไปต่อว่าเต่าแมวมากๆเข้า ท่านก็อาจถูกด่าว่าไม่รักชาติสยาม ไม่ปกป้องสมบัติชาติแต่ปันใจให้ฝรั่งบ้างจีนน้อยบ้าง ท่านอาจซึมเศร้าได้

และ ท่านอาจปวดใจไปกว่านั้นถ้ารู้ว่าจริงๆ เต่าแมวก็มีทีนาศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อ 3G กับ CDMA อยู่แล้ว แต่ดูเหมือนทำอะไรให้งอกเงยก็ไม่ได้ ทำไม?

เมื่อ ทำอะไรไม่ได้ เต่าแมวก็คงคิดว่า งั้นก็ห้ามคนอื่นทำก่อนแล้วกัน รอเวลาเผื่อมีปาฏิหารย์อะไรสักอย่างให้เต่าแมวยังอยู่เหมือนเดิมตลอดกาล

ปล.ลืม บอกไปว่า พี่อ้อยกับพี่ดวงเป็นลูกครึ่งแต่พี่ติ๋มไม่ใช่ ในขณะที่เต่าแมวมีปัญหากับลุง กทช. สามสามก็เครียดกับลุง กทช.เหมือนกัน (ฮา)

ปล.ลืม บอกไปว่า พี่อ้อยกับพี่ดวงเป็นลูกครึ่งแต่พี่ติ๋มไม่ใช่ ในขณะที่เต่าแมวมีปัญหากับลุง กทช. สามสามก็เครียดกับลุง กทช.เหมือนกัน (ฮา)

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เราไม่ควรเซ็งเป็ดแต่เซ็งแมว แทนดีกว่า

ตามไปอ่านเรื่องผู้หญิงแกร่ง คนนี้ได้ที่

คุยกับสุภิญญา กลางณรงค์ @supinya




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทาน 3G เจาะข่าวตื้นกับ จอห์น วิญญู

ต่อจาก นิทานเต่ากับแมว เวอร์ชั่น ที่แล้วครับ แต่นี่เป็นของ พี่ จอร์น วิญญู รายการ เจาะข่าวตื้น www.ihere.tv ส่วนตัวผมชอบมากครับ

ประวัติ วัดกะทู้

                                                      ตามความเป็นมาของวัดในอดีต ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่า เดิมทีวัดกะทู้ตั้งอยู่หลังตลาดวัดกะทู้ มีหลักฐานปรากฏชัดเจนคือ ต้นโพธิ์ เนื่องจากสถานที่ตั้งวัดเดิม เป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมและประกอบกับมีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมากพอสมควร ซึ่งในสมัยนั้น หลวงอำนาจนรารักษ์ เป็นกำนัน ท่านจึงได้ย้ายวัดจากที่เดิม ไปตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน เนื้อที่โดยประมาณ ๓๐ ไร่ ๓ งาน ๘๖ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ม.๔ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต หน้าวัดติด ถนน วิชิตสงคราม ทิศตะวันตกจรดสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอเก่า ทิศเหนือจรดที่ประทานบัตรของบริษัท บ่านหงวนตินไมนิ่ง จำกัด ทิศตะวันออกที่ นายเส้ง พ่อ นางตึง  และศาลเจ้าต๋องหย๋องสู ลักษณะที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูงเป็นควนเขา ในตอนหลังเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ปรับปรุงพื้นที่เป็นการใหญ่ โดยขอความร่วมมือจาก คุณ จิ้นหวุน (เจริญ ตันติวิท) เจ้าของและผู้จัดการ บริษัท ตินติโกวิท และคุณ บันลือ ตันติวิท เจ้าของและผู้จัดการบริษัท บ่านหงวนตินไมนิ่งจำกัด ทำการปรับพื้นที่โดยใช้รถแทรกเตอร์ของบริษัทฯ ใช้เวลาบริษัทละ ๑๗ วัน รวม ๓๔ วัน จึงได้พื้นที่ดั

เปรียบเทียบน้ำ 5 เว็บดัง

  เปรียบเทียบน้ำ 5 เว็บดัง ภาษาเขียน คือ อัตราต่อรอง ภาษาพูดคือ ราคาน้ำ สากลคือคือ odd (ราคาออด) โดยในต่างประเทศ หรือ อย่างบ่อนรับแทงพนันชื่อดัง แห่งเกาะอังกฤษ จะเป็น ต่อตังค์ คือ 5/1 คือเดิมพันเงิน1 ปอนด์ ได้คือมา 5ปอนด์ เป็นต้น แต่ในประเทศไทยเรานั้น จะต่อลูกที่ทำประตูได้ เช่น ต่อ หนึ่งลูก ต่อลูกครึ่ง ต่อครึ่งควบลูก นั้นยังไม่จบเท่านั้น ยังต้องมาดูต่อด้วย ว่า ต่อลูกครึ่ง ได้น้ำเท่าไหร่ เช่น น้ำ 2.0 คือ เราเดิมพัน หนึ่งพันบาท ได้เต็ม หนึ่งพันบาทไทย      แต่ถ้า เป็น น้ำ 1.8 คือเรา เดิมพันหนึ่งพันบาทไทย จะได้แค่ แปดร้อยบาทเท่านั้น  อย่างในคลิปตัวอย่างที่ อธิบายจะเข้าใจได้ง่าย ยิ่งขึ้นว่า ถ้าเราเล่นเว็บบอลออนไลน์ที่ น้ำน้อย หรือ เจ้ามือ เปิดมาน้อย เก็บไว้กินเองเยอะก็จะทำให้เงินเรา หายไปเห็นได้อนย่างชัดเจน  คลิปข้างต้น ยังได้ ลองเล่นสเต็ป หรือ มิ้กพาเล่ย์ เพื่อให้เห็นความแตกต่างได้ชัดยิ่งขึ้น จากตะรางด้านบน ถ้าเราเดิมพัน ufabet  ได้น้ำ 2.05 ซึ่งมากที่สุดใน บรรดา 5 เว็บพนันที่นำเอามาเปรียบเทียบ และเว็บที่ น้ำน้อยที่สุดคือเว็บ 928bet ราคาน้ำนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละ โต๊ะ